ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครื่องหมาย (อังกฤษ: Charge) ในมุทราศาสตร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นเครื่องหมายที่อาจจะเป็นตราสัญลักษณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นตราของโล่ภายในตรา ซึ่งอาจจะเป็นลายเรขาคณิต (บางครั้งเรียกว่า "แถบ") หรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับของบุคคล สัตว์ สิ่งของ หรือ สิ่งอื่น ๆ ในนิยามของตราของฝรั่งเศสแถบเรียกว่า "pièces" และเครื่องหมายอื่น ๆ เรียกว่า "mobile" ซึ่งเป็นคำคำพ้องรูปพ้องเสียง (homonym) กับคำว่า "meuble" ในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันที่แปลว่าเครื่องเรือน

การแบ่งเครื่องหมายออกเป็น "แถบ" หรือ "แถบย่อย" และกลุ่มอื่น ๆ เป็นระเบียบใหม่ที่เป็นที่คัดค้านโดยนักเขียนเกี่ยวกับมุทราศาสตร์หลายคนที่รวมทั้งฟ็อกซ์-เดวิส[1] ความสำคัญและความหมายของเครื่องหมายจะได้รับการระบุในนิยามของตรา

คำว่า "charge" ("เครื่องหมาย") อาจจะใช้เป็นคำกิริยา เช่นถ้าโล่มีสิงห์โตสามตัวก็จะนิยามว่า charged with three lions (เครื่องหมายด้วยสิงห์สามตัว) หรือ เครื่องยอดหรือตัว "เครื่องหมาย" เองก็อาจจะเป็น "เครื่องหมาย" ได้ เช่นเป็นปีก���หยี่ยวคู่ charged with trefoils (เป็นเครื่องหมายจิกสามแฉก) (เช่นตราแผ่นดินของบรันเดินบวร์ค) สิ่งสำคัญคือการแสดงความแตกต่างระหว่าง "แถบ" (ordinaries) กับ "ช่องตรา" (divisions of the field) เพราะเครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ใช้วิธีนิยามเดียวกัน เช่นโล่ divided "per chevron" (ช่องแบ่งด้วยแถบเชฟรอน) ที่ต่างจาก charged with chevron (เป็นเครื่องหมายเชฟรอน)

สิ่งต่างที่ใช้เป็นเครื่องหมายมาจากธรรมชาติ ตำนาน หรือเทคโนโลยี สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องหมายก็ได้แก่กางเขนที่เป็นเครื่องหมายของคริสต์ศาสนา เหยี่ยว สิงห์โต หรือ สิ่งก่อสร้าง

อ้างอิง

[แก้]
  1. See "CHAPTER IX: THE SO-CALLED ORDINARIES AND SUB-ORDINARIES" in Fox-Davies (1909) A Complete Guide to Heraldry.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เครื่องหมายในตรา วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สัตว์ที่ใช้ในตรา วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ที่ใช้ในตรา